ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเชียงใหม่

1. ประวัติเมืองเชียงใหม่
          เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พญามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.1839 และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ.1839 -2100) ในปีพ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานร่วมสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงช่วยเหลือล้านนาไทยภายใต้การนำของพระยากาวิละและพระยาจ่าบ้านในการทำสงครามขับไล่พม่าออกไปจากเชียงใหม่และเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนาพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเมืองประเทศราชของไทย และมีเชื้อสายของพระยากาวิละ ซึ่งเรียกว่าตระกูลเจ้าเจ็ดตน ปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนและเมืองลำปางสืบต่อมาจนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองประเทศราช ได้ยกเลิกการมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปีพ.ศ.2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันทั้งนี้ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 18/2554 เมื่อวันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2554คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้ความเห็นชอบให้จังหวัดเชียงใหม่เป็น “นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม” (Chiang Mai : The Most Splendid City of Culture) และในปีพ.ศ.2559จะถือเป็นปีครบรอบการสถาปนาเมืองเชียงใหม่อายุครบ 720 ปี

2. ขนาดพื้นที่และอาณาเขตการปกครอง
2.1 ขนาดพื้นที่

          – จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร)ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร
          – จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์สูงประมาณ2,565.3355 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพสูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
          – พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่จังหวัดเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
          – พื้นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร
2.2 อาณาเขตติดต่อ
         ทิศเหนือ รัฐฉานของสหภาพเมียนมาร์โดยมีสันปันน้ำของดอยคำ ดอยปกเกล้าดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
         ทิศใต้ อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง(จังหวัดตาก)มีร่องน้ำแม่ตื่นและสันปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
         ทิศตะวันออก อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง(จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้(จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปาง มีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูงและร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
          ทิศตะวันตก อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีสันปันน้ำดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์  ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และสันปันน้ำ ดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต 
          จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว และมีพื้นที่ติดต่อใน 5 อำเภอ ได้แก่
          1) อำเภอแม่อาย : 4 ตำบลได้แก่ ตำบลแม่อาย ตำบลมะลิกา ตำบลแม่สาว ตำบลท่าตอน เมืองที่ติดต่อคือ เมืองยอน รัฐฉาน
          2) อำเภอฝาง : 2 ตำบลได้แก่ ตำบลม่อนปิ่น และตำบลแม่งอน เมืองที่ติดต่อคือบ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน
          3) อำเภอเชียงดาว : 1 ตำบลได้แก่ ตำบลเมืองนำ เมืองที่ติดต่อคือ บ้านน้ำยุมเมืองต่วน รัฐตองยี
          4) อำเภอเวียงแหง : 3 ตำบลได้แก่ ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง ตำบลแสนไหเมืองที่ติดต่อคือ บ้านบางใหม่สูง บ้านปางเสือเฒ่า บ้านกองเฮือบิน เมืองต่วนรัฐตองยี
          5) อำเภอไชยปราการ : 1 ตำบลได้แก่ ตำบลหน วงบัว เมืองที่ติดต่อคือบ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน
          รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ทำให้ไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้อย่างชัดเจน จึงเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศบ่อยครั้ง

3. สภาพภูมิประเทศ และลักษะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ

          พื้นที่โดยทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิงมีภูเขาสูงที่สุดในประเทศไทย คือ “ดอยอินทนนท์” มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 2,565 เมตร นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นๆ ที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก (ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,285 เมตร) ดอยหลวงเชียงดาว (ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,170 เมตร) ดอยสุเทพ (ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,601 เมตร) สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตะวันตกของจังหวัดคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80 % ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ลำธาร ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขากระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ – ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง และลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่
ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรลักษณะภูมิอากาศ
          เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
          – ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
          – ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
          – ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

4. การปกครอง
          – จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบลและ 2,066 หมู่บ้าน
– มีหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังนี้
          1) หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง จำนวน 166 หน่วยงาน
          2) หน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 34 หน่วยงาน
          3) หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 211 แห่ง ประกอบด้วย
                   – องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง
                   – เทศบาลนคร จำนวน 1 แห่ง
                   – เทศบาลเมือง จำนวน 4 แห่ง
                   – เทศบาลตำบล จำนวน 116 แห่ง
                   – องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 89 แห่ง

5. ประชากร
          จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,732,712 คน แยกเป็นชาย 841,916 คน หญิง 890,798 คน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2559) อำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน 235,329 คน  คิดเป็นร้อยละ 13.57 ของประชากรทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อำเภอฝาง จำนวน 117,935 คน คิดเป็นร้อยละ 6.81 และอำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด ได้แก่ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จำนวน 12,032 คน คิดเป็นร้อยละ 0.7

6. สภาพเศรษฐกิจ
          1) ประมาณผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2558 พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 194,893 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว (GPP per capita) ในปี2558 เท่ากับ 112,874 บาท (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2559)
                – ภาคเกษตร (22.14%)
                – ภาคอุตสาหกรรม (10.12 %)
                – ภาคบริการ (67.83%)
          2) รายได้ส่วนใหญ่แยกตามรายสาขาการผลิตที่สำคัญ(ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2559)
                – อันดับ 1 สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ ร้อยละ 22.15 %
                – อันดับ 2 สาขาอื่นๆ ร้อยละ 18.46 %
                – อันดับ 3 สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์จักรยานยนต์ ของใช้ส่วน
บุคคลและของใช้ในครัวเรือน ร้อยละ 11.88 %
                – อับดับ 4 สาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 7.76 %
                – อันดับ 5 สาขาการก่อสร้าง ร้อยละ 4.96 %
                – อันดับ 6 สาขาการศึกษา ร้อยละ 6.68 %
                – อันดับ 7 สาขาตัวกลางทางการเงิน ร้อยละ 6.89 %
                – อันดับ 8 สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 15.63 %
                – อันดับ 9 สาขาบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการ
ประกันสังคมภาคบังคับ ร้อยละ 5.41 %

การค้าชายแดน
          จังหวัดเชียงใหม่เป็นหนึ่งในสองจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ที่มีพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านโดยอีกจังหวัดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งมีพื้นที่ชายแดนกับสหภาพเมียนมาร์เช่นกัน โดยจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มทางการวางอุทยานโลจิสติกส์ (Logistics Parks) ให้รองรับการขยายตัวของเมือง ๒ มิติคือ การจัดสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการบิน (Aviation Hub) และการพัฒนายกระดับจุดผ่อนปรนทางการค้าเป็นจุดผ่านแดนถาวร ณ จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก ณ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
โดยมียุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงกับภูมิภาคที่สำคัญ ๒ แห่ง คือ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และกลุ่มประเทศภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค “ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ” (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation:BIMSTEC) ผ่านทางสหภาพเมียนมาร์
หน่วย : ล้านบาท

มูลค่าการค้าชายแดนพ.ศ. 2553พ.ศ. 2554พ.ศ. 2555พ.ศ. 2556พ.ศ. 2557
มูลค่าการส่งออก126.423,570.112,360.572,479.113,124.74
มูลค่าการนำเข้า9,268.362,301.791,330.071,043.201,079.43

ที่มา: สำนักงานคลังจังหวัดเชียงใหม่ ณ เดือนตุลาคม 2558
ศักยภาพความพร้อมของเชียงใหม่ในการเปิดด่านชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับเมียนมาร์ใน ๕ อำเภอ คือ อำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย รวมระยะทาง ๒๗๗ กิโลเมตร โดยติดต่อกับรัฐฉานซึ่งมีเมืองสำคัญ ได้แก่ เมืองตองยี (เมืองเอก) เมืองต่วน เมืองสาด เมืองหางเมืองยอน จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นช่องทางการค้า ทำให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการค้าชายแดนกับเมียนมาร์ ๓ แห่ง คือ
        1) จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก บ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว         
        2) จุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง
        3) ช่องทางบ้านสันต้นดู่ อำเภอแม่อาย

7. การท่องเที่ยว
          ปี 2556         – จำนวนนักท่องเที่ยว 7,089,792 คน
                             – ค่าใช้จ่าย (บาท/คน/วัน) 3,373.74 บาท
                             – รายได้จากการท่องเที่ยว 58,550.50 ล้านบาท
                             – อัตราการเข้าพัก (ร้อยละ) 47.23
          ปี 2557         – จำนวนนักท่องเที่ยว 8,773,486 คน (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2556 จำนวน 1,683,694 คน)
                             – ค่าใช้จ่าย (บาท/คน/วัน) 3,469.06 บาท
                             – รายได้จากการท่องเที่ยว 74,789.67 ล้านบาท
                             – อัตราการเข้าพัก (ร้อยละ) 62.34
         ปี 2558          – จำนวนนักท่องเที่ยว 9,286,307 คน (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2557 จำนวน 512,821 คน)
                             – ค่าใช้จ่าย (บาท/คน/วัน) 3,364.56 บาท
                             – รายได้จากการท่องเที่ยว 82,570.24 ล้านบาท
                             – อัตราการเข้าพัก (ร้อยละ) 66.34
        สถานที่ท่องเที่ยว
        จังหวัดเชียงใหม่มีสถานที่ท่องเที่ยว ในรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายและแห่งอำนวยความสะดวกทันสมัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งที่พัก โรงแรม รีสอร์ทและโฮมสเตย์ที่มีชื่อเสียงทั้งร้านอาหารจำนวนมาก จึงเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เชียงใหม่จึงเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญประเทศและระดับโลกด้านสินค้าบริการ จังหวัดเชียงใหม่มีจุดแข็งด้านสินค้าและบริการหลากหลายรูปแบบที่สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เชิงวัฒนธรรม และรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ

          การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่มีหลายรูปแบบ เช่น
          1) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural and Traditional Tourism) บนพื้นฐานทางวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ และประวัติศาสตร์อันยาวนาน
          2) การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว (Long Stay) ได้แก่ การท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นการพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากเชียงใหม่เป็นสถานที่พักผ่อนที่ครบรูปแบบทั้งธรรมชาติและในรูปแบบเมือง
          3) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) ได้แก่การท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ หรือการบำบัดรักษาฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น
          4) การท่องเที่ยวเชิงการศึกษา (Education Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวเชิงการศึกษา เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษาชาวต่างชาติที่ต้องเข้ามาศึกษายังสถาบันในจังหวัดเชียงใหม่
          5) การท่องเที่ยวเพื่อการประชุมสัมมนา (MICE) โดยจังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพและความพร้อมในการเป็น MICE City ข้อมูลจากสำนักงานท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่าจังหวัดเชียงใหม่ มีผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว จำนวน 9 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย GOLF / Wedding Honeymoon/Health and Wellness / Ecotourism เป็นเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ /ศาสนา /อาหาร / OTOP /พื้นที่ชุมชนท้องถิ่นที่มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต /กลุ่มสินค้าท่องเที่ยว Theme และกระแส(Trend)

           จังหวัดเชียงใหม่ ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่นิยมของชาวไทยเท่านั้น แต่ยังมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับสากล เห็นได้จากการจัดอันดับเมืองท่องเที่ยวของนิตยสารด้านการท่องเที่ยวสำคัญของโลก กล่าวคือ
           – ปี พ.ศ. 2553 นิตยสาร Travel & Leisure ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก และเป็น 1 ใน 10 สุดยอดเมืองแห่งปีจากการจัดอันดับนิตยสาร Lonely Planet
           – ปี พ.ศ.2554 จังหวัดเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับจาก Euromonitor Internationalให้เป็น 1 ใน 100 เมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมาเยือนจำนวนมากที่สุดของโลก (Top 100 Cities Destination) โดยเป็น 1 ใน 4 เมืองของประเทศไทยที่อยู่ในการจัดอันดับดังกล่าวนอกเหนือจากกรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต
           – ปี พ.ศ.2556 จังหวัดเชียงใหม่ได้รับการจัดลำดับจากนิตยสารการท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ นิตยสาร Travel & Leisure จัดอันดับให้เป็น Top Cities ของเอเชียลำดับที่ 3 รองจากกรุงเทพฯ และโตเกียว และ Trip advisor จัดอันดับให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเป้าหมายการเดิน Top 25 Destinations ของเอเชีย อันดับที่ 6และเป็น Top 10 Cities ของเอเชียจากนิตยสาร Conde Nest Traveler
          จากการเก็บข้อมูลการสืบค้นการท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวจีนของเว็บไซต์ Trip Advisor’s daodao.com ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2556 พบว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างประเทศที่นักท่องเที่ยวจีนให้ความนิยมเป็นอันดับที่ 12
          – ปี พ.ศ. 2558 จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยว ดังนี้
                   – รางวัล Best Destination เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน THE BEST
of THAILAND AWARDS VOTED BY CHINESE TOURISTS
                   – รางวัล Flower of the Year งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดเชียงใหม่ได้รับคัดเลือกจาก International Garden Tourism Network ของยุโรปให้รางวัล Flower Festival of The year โดยพิธีมอบรางวัลจัดขึ้นในการประชุมใหญ่ Flower And Garden Conference เมื่ออังคารที่ 17 มีนาคม 2558 ณ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา
          – ปี พ.ศ. 2559 จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก (World’s Best Awards) ของนิตยสารทราเวล แอนด์ เลซเซอร์ (สหรัฐอเมริกา) มีทั้งหมด 25 อันดับ จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับที่ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ด้วยศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่นดังกล่าวของจังหวัดชียงใหม่
          ภาคการท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของการพัฒนาจังหวัดและประเทศไทยโดยรวม ในปี พ.ศ. 2558 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเชียงใหม่ จำนวน 9,286,307 คน  โดยแยกเป็นชาวไทย จำนวน 6,451,283 คน (69.47%) ชาวต่างประเทศ 2,835,024 คน (30.53%) เพิ่มขึ้นจากปี 2557 จำนวน 620,805 คน (7.16%) โดยมีค่าเฉลี่ยการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวรวม 5 ปี เท่ากับร้อยละ 13.72
 นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาจังหวัดเชียงใหม่ 5 อันดับแรก ได้แก่ นักท่องเที่ยวประเทศจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ ตามลำดับ รายได้จากนักท่องเที่ยว ปี 2558 นักท่องเที่ยวสร้างรายได้แก่จังหวัด 82,570.24 ล้านบาท
 
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ  เช่น
          – อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง
          – อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (ชุนช่างเคี่ยน) อำเภอเมืองเชียงใหม่
          – อุททยานแห่งชาติแม่วาง (ผาช่อ) อำเภอดอยหล่อ ถ้ำเชียงดาว ดอยหลวงเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง
          – อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอฝาง
          – อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อำเภอแม่แตง
          – สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม
          – ปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง
          – น้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน
          – น้ำพุร้อนฝาง อำเภอฝาง
          – ดอยม่อนจอง อำเภออมก๋อย
          – ดอยม่อนแจ่ม อำเภอแม่ริม
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป
          – ถนนคนเดินท่าแพ-ถนนคนเดินวัวลาย อำเภอเมืองเชียงใหม่
          – หมู่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง
          – หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านถวาย อำเภอหางดง
          – ถนนนิมมานเหมินทร์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
          – เชียงใหม่ไนท์บาซาร์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
          – อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอำเภอเมืองเชียงใหม่
          – เวียงกุมกาม อำเภอสารภี
          – พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
          – สวนสัตว์เชียงใหม่ /เชียงใหม่ซูอควาเลียม อำเภอเมืองเชียงใหม่

ปฏิทินการจัดกิจกรรมประเพณีของจังหวัด

  เดือน  งานประเพณี/สถานที่จัดงาน ตำบล อำเภอ
  มกราคม  1. ประเพณีตานหลัวหิงไฟพระเจ้า /วัดป่ายางหลวงหรือวัดป่าแดดอำเภอแม่แจ่ม
  กุมภาพันธ์  –
  มีนาคม  1. ประเพณีปอยหลวง, ปอยน้อย, /จังหวัดเชียงใหม่
  เมษายน  1. ประเพณีปีใหม่เมือง /จังหวัดเชียงใหม่
  2. ประเพณีสืบชะตาบ้าน /จังหวัดเชียงใหม่
  3. ประเพณีปอยส่างลอง /อำเภอเมืองเชียงใหม่
  4. งานสืบสานตำนานไทลื้อ /อำเภอดอยสะเก็ด
  5. พิธีสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ /อำเภอเชียงใหม่
  6. ประเพณีแห่ไม้ค้าโพธิ์ /อำเภอจอมทอง
  พฤษภาคม  1. ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ /ลานครูบาศรีวิชัย-วัดพระธาตุดอยสุเทพ
  2. ประเพณีสรงน้ำรอยพระพุทธบาตร /วัดพระบาทตะเมาะ อำเภอดอยเต่า
  มิถุนายน  1.ประเพณีเข้าอินทขิล /วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่
  กรกฎาคม  –
  สิงหาคม  1. งานวันแม่แห่งชาติ /จังหวัดเชียงใหม่
  กันยายน  1. ประเพณีปุพพเปตพลี /จังหวัดเชียงใหม่
  ตุลาคม  1. ประเพณีตานก๋วยสลาก /จังหวัดเชียงใหม่
  2. ประเพณีออกพรรษา /จังหวัดเชียงใหม่
  3. ประเพณีใส่บาตรเทโว /จังหวัดเชียงใหม่
  4. ประเพณีทานผ้ากฐิน /จังหวัดเชียงใหม่
  5. ประเพณีวันออกพรรษา /จังหวัดเชียงใหม่
  6. ประเพณีเป็งปุ๊ด(ตักบาตรเที่ยงคืน) /จังหวัดเชียงใหม่
  พฤศจิกายน  1. ประเพณีเดือนยี่เป็ง /จังหวัดเชียงใหม่
  2. งานแอ่วเฮือน เยือนพญา /สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. งานมหกรรมโคมลอยบ้านหนองโค้งและหัตถกรรมอำเภอสันกำแพง /อำเภอสันกำแพง
  ธันวาคม  1. ประเพณีเข้าโสสานกรรม /จังหวัดเชียงใหม่
  2. งานประเพณีของดีอำเภอสันทราย /อำเภอสันทราย
  3. งานย่านการค้าพาณิชย์บ้านถวาย หมู่บ้านสร้างสรรค์ /อำเภอหางดง

.

8. การเกษตร
          มูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2554 – 2558 พบว่ามีแนวโน้ม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปี พ.ศ. 2556 มูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย และในปี พ.ศ. 2557 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในลักษณะก้าวกระโดด หากแยกเป็นสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ กับสาขาการประมงแล้ว พบว่า สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และ การป่าไม้ เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคเกษตร แต่ในสาขาการประมงนั้น มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
          1) พื้นที่การเกษตรของจังหวัด พื้นที่จังหวัดส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูก (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2559)
                   • พื้นที่ปลูกข้าวนาปี 431,910 ไร่
                   • พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 79,830 ไร่
           2) พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่  
                   – ข้าวนาปี  พื้นที่ปลูก 431,910 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 624 (กิโลกรัม/ไร่)
                   – ข้าวนาปรัง พื้นที่ปลูก 79,830 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 650 (กิโลกรัม/ไร่)
                   – ลำไย พื้นที่ปลูก 313,391 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 883 (กิโลกรัม/ไร่)
                   – ลิ้นจี่ พื้นที่ปลูก 58,046 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 493 (กิโลกรัม/ไร่)
                   – กระเทียม พื้นที่ปลูก 27,984 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย1,207(กิโลกรัม/ไร่)
                   – หอมแดง พื้นที่ปลูก 8,450 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 2,398(กิโลกรัม/ไร่)
                   – หอมหัวใหญ่ พื้นที่ปลูก 8,451 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 4,348 (กิโลกรัม/ไร่)
          3) พื้นที่การเกษตรในเขตชลประทาน จำนวน 642,979 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่การเกษตร และพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทาน 1,192,446 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 65 ของพื้นที่การเกษตรทั้งจังหวัด
          4) การชลประทาน จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ตอนบนของประเทศ มีแหล่ง กักเก็บน้ำ เป็นจำนวนมาก สำหรับใช้ในการชลประทาน การเกษตร และการอุปโภคบริโภค เขื่อนเก็บน้ำ ขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ สำคัญได้แก่
                   4.1) เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ตั้งอยู่ที่ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง มีความจุที่ระดับเก็บกัก จำนวน 265 ล้านลูกบาศก์เมตร (พื้นที่ชลประทานของอ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล 30,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานของฝายแม่แฝก 70,000 ไร่)
                   4.2) เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ตั้งอยู่ที่ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด มีความจุที่ระดับ เก็บกัก จำนวน 263 ล้านลูกบาศก์เมตร (พื้นที่ชลประทาน ประมาณ 175,000 ไร่)มีวัตถุประสงค์ เพื่อการชลประทาน ป้องกันอุทกภัย การประมงการประปา และใช้อุปโภคบริโภค
                   4.3) โครงการส่งน้ำแม่แตง ตั้งอยู่ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง มีพื้นที่โครงการ 174,238 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 148,102 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ฝั่งขวา ของลำน้ำปิง ภายในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีการชลประทานเพียงพอแก่การทำนาและปลูกพืช อื่นๆในฤดูแล้ง 4.4) ฝายขนาดกลาง จำนวน 31 แห่ง อาทิเช่น ฝายดอยอ่างขาง ฝายแม่สาว ฝายเชียงดาว อ่างเก็บน้ำห้วยหยวก ฝายเหมืองใหม่ อ่างเก็บน้ำแม่ตูบ เป็นต้น
                    4.5) โครงการชลประทานขนาดเล็ก มีจำนวน 6 แห่ง คือ ระบบส่งน้ำฝายแม่สานาเลา ต้นผึ้ง แม่แขะ แม่ขอดนอก บ้านสันนกแก้ว ห้วยแม่หาง 4.6) โครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 11 แห่ง อาทิเช่น ศูนย์ศึกษาและพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ (ดอยสะเก็ด) ฝายแม่ปาด (แม่แจ่ม) บ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ (เวียงแหง)
 
 9. การอุตสาหกรรม
          จังหวัดเชียงใหม่มีธุรกิจอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 21 ประเภท มีจำนวนทั้งสิ้น 1,571 แห่ง โดยมีเงินลงทุนในอุตสาหกรรมทั้งหมด 31,413.23 ล้านบาท และจำนวนคนงานรวม 40,584 คน ธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ 314 แห่ง เงินลงทุน 4,877.10 ล้านบาท อันดับสอง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพืช 216 แห่ง เงินลงทุน 3,065.61 ล้านบาท คนงาน 6,982 คน อันดับสาม อุตสาหกรรมอาหาร 231 แห่ง เงินลงทุน 3,056.61 ล้านบาท
 
10. การพาณิชยกรรม
          ภาวะการค้าทั่วไป ของจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง การท่องเที่ยว ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ ภาคเหนือตอนบนขยายตัวดีจากอุปสงค์ของนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ อัตราการจองที่พัก ล่วงหน้ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่สำคัญ ด้านลูกค้าชาวไทยยังขยายตัว จากกลุ่มประชุมสัมมนาและจากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดติดต่อกัน รวมทั้งการเปิด เที่ยวบินตรงจากฮ่องกงและเพิ่มเที่ยวบินในประเทศ สำหรับธุรกิจรถเช่าก็ขายตัวดีสอดคล้องกับ ธุรกิจโรงแรมในภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะความต้องการเช่ารถของนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป ฮ่องกง มาเก๊า จีน ไต้หวัน ขณะที่ธุรกิจโรงแรมในภาคเหนือตอนล่างยังไม่ฟื้นตัวเนื่องจากลูกค้า กลุ่มประชุมสัมมนาของหน่วยงานภาครัฐลดลง
          การจดทะเบียนนิติบุคคลจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 16,834 ราย เงินทุนรวมทั้งสิ้น 236,421,874,528 บาท เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด 6,377 ราย ห้างหุ้นส่วนสามัญ 50 ราย บริษัทจำกัด 10,407 ราย ในส่วนของเดือนพฤศจิกายน 2559 มีจำนวน 239 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2559 ร้อยละ 13.81 เงินทุนรวม 1,267.18 ล้านบาท ธุรกิจ ที่จดทะเบียนมากที่สุด 3 อันดับ 1) ธุรกิจร้านขายปลีกเครื่องประดับ (ร้านทอง) 2) ธุรกิจการ ก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย 3) ธุรกิจการซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ โดยมีนิติบุคคล จดทะเบียนใหม่ ทุนจดทะเบียนสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และห้องชุด ธุรกิจผลิต โปรแกรมคอมพิวเตอร์และธุรกิจการซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์
          ภาวะสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่
          – กระเทียม ในปี 2559/60 จังหวัดเชียงใหม่มีแหล่งเพาะปลูกกระเทียมที่สำคัญ ได้แก่ อำเภอเวียงแหง เชียงดาว ฝาง แม่อาย ไชยปราการ สะเมิง แม่แตง ส่วนอำเภออื่นๆมีการปลูกกระจาย ทั่วไป ในปีการผลิตที่จะถึงนี้คาดว่าพื้นที่ปลูกรวมทั้งหมด 25,047 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 0.23 ผลผลิตรวม 100,188 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 9.12
          – หอมหัวใหญ่ ในปี 2559/60 คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกหอมหัวใหญ่ ได้แก่ อำเภอแม่วาง ฝาง สันป่าตอง และกระจายปลูกอำเภอทั่วไป มีจำนวน 6,385 ไร่ คาดว่าผลผลิตสดทั้งฤดูกาล จำนวน 30,010 ตัน ผลผลิตสดเฉลี่ย 4,700 กิโลกรัม/ไร่ 14
          – หอมแดง ในปี 2559/60 คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกหอมแดง และกระจายปลูกอำเภอทั่วไป มีจำนวน 6,010 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7.8 คาดว่าผลผลิตสดทั้งฤดูกาล จำนวน 18,030 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7.6 ผลผลิตสดเฉลี่ย 3,000 กิโลกรัม/ไร่
          – ข้าว ในปี 2559/60 ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ 95 มีพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งหมด 431,910 ไร่ ผลผลิตทั้งฤดูกาลจำนวน 269,312 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 623.53 กิโลกรัม/ไร่
          – ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สถานการณ์การผลิต ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วประมาณ ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตของอำเภอแม่แจ่ม คาดว่าประมาณเดือนมกราคม 2560 ผลผลิต จะออกสู่ตลาดหมด มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 179,383 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.39 พื้นที่ การเก็บเกี่ยว 179,383 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.15 ผลผลิตเฉลี่ย (ความชื้น 14.5%) 667 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตทั้งสิ้น 119,649 ตัน
 
11. แรงงาน
          สถานการณ์ด้านแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ ไตรมาส 1-2 ปี 2559 ประชากรและกำลังแรงงานจังหวัดเชียงใหม่มีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 1,009,152 คน ผู้มีงานทำ 988,249 คน และผู้ว่างงาน 11,366 คน – แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ไตรมาส 1-2 ปี 2559 มีจำนวน 83,778 คน

12. สภาพทางสังคม
          จังหวัดเชียงใหม่เป็นนครแห่งวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองและมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 720 ปี มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่มีเอกลักษณ์มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดสู่งานหัตกรรมที่มี คุณค่ารวมทั้งมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ชนเผ่าที่มีวัฒนธรรมโดดเด่นและหลากหลายถึง 13 ชนเผ่า เป็นชาวเขา 7 เผ่า และเป็นชนกลุ่มน้อย 5 กลุ่ม
          12.1 ภาษา ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่น ซึ่ง เรียกว่า “ภาษาคำเมือง” ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของภาคเหนือมีลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะสำเนียงและศัพท์บางคำ
          12.2 ศาสนา ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ ศาสนาพุทธ จำนวน 1,519,879 คน (คิดเป็นร้อยละ 91.80 % ของประชากรจังหวัดเชียงใหม่) ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ ศาสนาอิสลาม จำนวน 19,371 คน (คิดเป็นร้อยละ 1.17% ของประชากรจังหวัดเชียงใหม่) 15 ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ ศาสนาคริสต์จำนวน 92,716 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.60% ของประชากรจังหวัดเชียงใหม่) ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูซิกส์จำนวน 331 คน (คิดเป็นร้อยละ 0.02% ของประชากรจังหวัดเชียงใหม่) ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ ศาสนาอื่น ๆ จำนวน 23,345 คน (คิดเป็นร้อยละ 1.41% ของประชากรจังหวัดเชียงใหม่)
          12.3 การศึกษา จังหวัดเชียงใหม่รองรับระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา มีจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 1,574 แห่ง ในจำนวนนี้มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกชนรวม 12 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาบันการพลศึกษาวิทยาลัยเขตเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยฟาร์อีส-เทอร์น วิทยาลัย นาฏศิลปะเชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช-วิทยาลัย วิทยาลัยเขตล้านนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ มีสถาบันอาชีวศึกษาของ รัฐ 8 แห่ง และสถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน 9 แห่ง โรงเรียนนานาชาติ 7 แห่ง
          12.4 บริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุขประเภทที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน 48 แห่ง 6,301 เตียง จำแนกเป็นประเภทบริการทั่วไป 42 แห่งและประเภทบริการเฉพาะโรค จำนวน 6 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นสถานบริการสาธารณสุขแยกตามสังกัด ได้แก่ สังกัดกระทรวง สาธารณสุข 24 แห่ง นอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 5 แห่ง สังกัดกระทรวงอื่นๆ 5 แห่ง และสังกัดเอกชน 14 แห่ง นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีสถานการศึกษาระดับ อุดมศึกษาที่ทำการเปิดสอนด้านการแพทย์หรือพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่ยังมีความ พร้อมในด้านธุรกิจบริการสุขภาพ โดยเฉพาะการบริการทางการแพทย์ของรัฐและเอกชนที่ ทันสมัย บุคลากรแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆที่มีชื่อเสียง มีศักยภาพสามารถรองรับการเข้ามาใช้ บริการทั้งด้านการรักษาโรคเฉพาะทางด้านทันตกรรม การนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ และการ บริการสปาที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สำหรับบุคลากรทางสาธารณสุข จำแนกตามวิชาชีพ (ข้อมูล ปี2558)
                   ก) แพทย์ 451 คน อัตราส่วนแพทย์: ประชากร เท่ากับ 1 : 3,865 คน
                   ข) พยาบาล 2,081 คน อัตราส่วนพยาบาล : ประชากร เท่ากับ 1 : 838 คน 16
                   ค) ทันตแพทย์133 คน อัตราส่วนทันตแพทย์: ประชากรเท่ากับ 1 : 13,105 คน
                   ง) เภสัชกร 220 คน อัตราส่วนเภสัชกร : ประชากรเท่ากับ 1 : 6,352 คน

13. การคมนาคม
          จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรม และการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวง แผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายใน จังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก
          13.1 ทางรถยนต์ การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัด พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดลำปาง แยก ซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางในตัวจังหวัด การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทาง โดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยัง อำเภอต่างๆของจังหวัดเชียงใหม่เรียงจากใกล้ไปไกล ดังนี้
          – ไปอำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร /ไปอำเภอสารภี 10 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอสันทราย 12 กิโลเมตร /ไปอำเภอสันกำแพง 13 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอหางดง 15 กิโลเมตร /ไปอำเภอดอยสะเก็ด 18 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอสันป่าตอง 22 กิโลเมตร /ไปอำเภอแม่ออน 29 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอดอยหล่อ 34 กิโลเมตร /ไปอำเภอแม่วาง 35 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอแม่แตง 40 กิโลเมตร /ไปอำเภอสะเมิง 54 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร /ไปอำเภอเชียงดาว 68 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอฮอด 88 กิโลเมตร /ไปอำเภอพร้าว 103 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอดอยเต่า 121 กิโลเมตร /ไปอำเภอไชยปราการ 131 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอเวียงแหง 150 กิโลเมตร /ไปอำเภอฝาง 154 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอแม่แจ่ม 156 กิโลเมตร /ไปอำเภอกัลยาณิวัฒนา 157 กิโลเมตร
          – ไปอำเภอแม่อาย 174 กิโลเมตร /ไปอำเภออมก๋อย 179 กิโลเมตร
          สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์ รวมทั้ง จักรยาน สำหรับระบบขนส่งมวลชนจะมีรถสี่ล้อแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และแท็กซี่มิเตอร์ 17 ให้บริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็น แท็กซี่ส่วนบุคคล โดยปัจจุบันมีการจัดการเดินรถจำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่
          สายที่ 1 หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – เซ็นทรัลเฟสติวัล
          สายที่ 2 สวนรุกขชาติ-เซ็นทรัลเฟสติวัล
          สายที่ 3 ขนส่งช้างเผือก-นิมมานเหมินทร์ – สนามบิน
          สายที่ 4 ขนส่งช้างเผือก-เซ็นทรัลเฟสติวัล
สายที่ 5 ขนส่งช้างเผือก-กาดหลวง อัตราค่าโดยสาร 15 บาท ตลอดสาย พระภิกษุ สามเณร นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบ อัตราค่าโดยสาร 10 บาท ตลอดสาย สถานีขนส่งภายในตัวจังหวัด เชื่อมต่ออำเภอต่างๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัด เชียงใหม่(สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัด เชียงใหม่ (สถานีขนส่งอาเขต)
          13.2 ทางรถไฟ การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง และลำพูน เปิดการเดิน รถไฟทุกวัน ๆ ซึ่งสถานีปลายทางภาคเหนือคือสถานีรถไฟเชียงใหม่
          13.3 ทางอากาศ การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ที่มีขนาด ใหญ่เป็นอันดับต้น รองจากท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีเส้นทางบิน ไป- กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศโดย สายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินจากเชียงใหม่ ปัจจุบันท่าอากาศยานเชียงใหม่มีสายการบินที่ให้บริการภายในประเทศจำนวน 7 สายการบิน ได้แก่ การบินไทย การบินกรุงเทพ กานต์นิธิ นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยสไมล์ ไทยไลออน เมนเทอรี และมีสายการบินระหว่างประเทศให้บริการ 20 สายการบิน

14. การสาธารณูปโภค
          14.1 ไฟฟ้า

          1. การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคเหนือ) รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่ 6 แห่ง คือ การไฟฟ้า 18 ส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่/ภูมิภาคอำเภอฝาง/ภูมิภาคอำเภอสันทราย/ภูมิภาคอำเภอแม่ริม/ ภูมิภาคอำเภอสันป่าตอง/ภูมิภาคอำเภอจอมทอง ซึ่งให้มีพื้นที่รับผิดชอบสถานีควบคุมการจ่าย ไฟฟ้าอำเภอ จำนวนสาขา 25 อำเภอ พื้นที่ให้บริการจำนวน 200 ตำบล พื้นที่ให้บริการจำนวน 1,851 หมู่บ้าน และพื้นที่ให้บริการจำนวน 734,716 ครัวเรือน
          14.2 ประปา
                    1. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 9 มีสำนักงานประปาส่วนภูมิภาคสาขาในเขตพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
                    1) การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงใหม่ (ชั้นพิเศษ)
                    2) การประปาส่วนภูมิภาค สาขาแม่ริม
                    3) การประปาส่วนภูมิภาค สาขาสันกำแพง
                    4) การประปาส่วนภูมิภาค สาขาฮอด
                    5) การประปาส่วนภูมิภาค สาขาฝาง
                    6) การประปาส่วนภูมิภาค สาขาแม่แตง
                    7) การประปาส่วนภูมิภาค สาขาจอมทอง
          14.3 ไปรษณีย์ มีสำนักงานไปรษณีย์ให้บริการภายในจังหวัดเชียงใหม่ รวมจำนวน 38 แห่ง แยกเป็นไปรษณีย์ให้บริการภายในเขตอำเภอเมือง จำนวน 13 แห่ง และไปรษณีย์ให้บริการ ภายในเขตอำเภอต่างๆ จำนวน 25 แห่ง
 
15. ทรัพยากรป่าไม้
          ทรัพยากรป่าไม้ เป็นทรัพยากรที่มีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในด้านอื่นๆอย่างเด่นชัด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ จะส่งผลกระทบ ต่อทรัพยากรอื่นในหลายด้านได้แก่ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าซึ่งส่งผลต่อเนื่อง ถึงสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งหมายถึง ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์รวมไปถึงการดูดซับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ และปัญหาดินถล่ม จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภทประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 12,222,265.87 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 88.72 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด โดยแนวโน้มลดลงจากอดีต การลดลงของพื้นที่ป่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน การตัดไม้เพื่อการค้า รวมทั้งนโยบายของรัฐที่เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การให้สัมปทานการทำไม้ การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ และการเกิดไฟป่า
 
ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ กับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี (พ.ศ.2553 – 2557)

ปี พ.ศ.พื้นที่ (ไร่)% ของพื้นที่จังหวัด
25539,865,737.5071.62
25548,787,656.2563.79
2555
25569,573,349.6669.49
25579,660,828.5470.13

16. การต่างประเทศ
          16.1 สถานกงสุลต่างประเทศ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ตั้งของสถานกงสุลต่างประเทศ 22 แห่ง โดยมีผู้ดำรงตำแหน่ง แยกเป็น
                   – กงสุลใหญ่ จำนวน 5 แห่ง
                   – กงสุลกิตติมศักดิ์ จำนวน 17 แห่ง
          16.2 ความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง จังหวัดเชียงใหม่ได้ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกับนครและ เมืองต่าง ๆ ในต่างประเทศ ดังนี้
                   1) จังหวัดเชียงใหม่ กับ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยลงนาม ความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2543 (MOU)
                   2) จังหวัดเชียงใหม่ กับ นครชิงเต่า สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยลงนาม ความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 (MOU)
                   3) จังหวัดเชียงใหม่ กับ เขตพิเศษย็อกยากาตาร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยลง นามความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2550 (MOU)
                   4) จังหวัดเชียงใหม่ กับ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 (LOI) โดยลงนามความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 19 กันยายน เมษายน 2551 (MOU)
                   5) จังหวัดเชียงใหม่ กับ เมืองฮาร์บิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยลงนาม ความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551(MOU)
                   6) จังหวัดเชียงใหม่ กับ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยลงนาม ความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2552 (MOU)
                   7) จังหวัดเชียงใหม่ กับ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น โดยลงนามความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 (MOU)
                   8) จังหวัดเชียงใหม่ กับ เมืองบูร์ซา ประเทศตุรกี โดยลงนามความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 (MOU/LOI) 20
                   หมายเหตุ       MOU : Memorandum of Understanding (บันทึกความเข้าใจ)
                                        LOI : Letter of Intent (หนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายหนึ่งถึงอีกฝ่ายหนึ่ง)  หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ดังนี้
                             1) ลงนามในบันทึกความร่วมมือเป็นหอการค้าคู่มิตรกับหอการค้าสภาอุตสาหกรรม เมืองจิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2546
                             2) ลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างหอการค้าเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส และ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549

          16.3 บริการหนังสือเดินทาง (Passport) จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่กรมการกงสุล ได้ตั้งสำนักงานหนังสือเดินทาง ชั่วคราวเชียงใหม่ สถานที่ตั้ง ณ ชั้น 1 อาคารอำนวยการกลาง ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ ประชาชนทั่วไปและข้าราชการ ทั้งจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง มีการยื่นเรื่องทำเอกสาร หนังสือเดินทางไปต่างประเทศในแต่ละปีจำนวนมาก จากสถิติข้อมูลของสำนักงานหนังสือ เดินทางชั่วคราวเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 – 2558 พบว่า
                    ปี 2556  จำนวนผู้ยื่นเรื่องทำเอกสารหนังสือเดินทาง ณ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ทั้งสิ้น 68,701 ราย แยกเป็น
                                 – ข้าราชการ จำนวน 1,176 ราย / ทูต จำนวน 0 ราย
                                 – ประชาชนทั่วไป จำนวน 67,525 ราย
                    ปี 2557  จำนวนผู้ยื่นเรื่องทำเอกสารหนังสือเดินทาง ณ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ทั้งสิ้น 75,338 ราย แยกเป็น
                                 – ข้าราชการ จำนวน 1,088 ราย / ทูต จำนวน 2 ราย
                                 – ประชาชนทั่วไป จำนวน 74,248 ราย ปี
                    ปี 2558  จำนวนผู้มายื่นเรื่องทำเอกสารหนังสือเดินทาง ณ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 77,929 แยกเป็น
                                 – ข้าราชการ จำนวน 824 ราย/ทูต จำนวน 6 ราย
                                 – ประชาชนทั่วไป จำนวน 77,099 ราย (ข้อมูลจากสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวเชียงใหม่ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2559)

                   ทิศทางการพัฒนา (Positioning) ของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีความสำคัญต่อการ กำหนดตำแหน่งการพัฒนาของจังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้
                             1. เมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบริการระดับสากล Tourism Hub/ World’s Tourist Destination, MICE City, Wellness City จังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพโดดเด่น 21 ด้านการท่องเที่ยวและบริการระดับสากล มีทรัพยากรทางกรท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งด้าน โบราณสถานศิลปวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงามซึ่งมีความ โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดได้รับการยกย่องและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับสากลและ จังหวัดเชียงใหม่มีโรงแรมที่พัก และศูนย์ประชุมที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติพร้อมที่จะพัฒนา ไปสู่การเป็นศูนย์กลางการประชุมและจัดนิทรรศการของภูมิภาค
                             2. เมืองศูนย์กลางการค้า การลงทุนและการคมนาคมขนส่ง Northern Landport จังหวัดเชียงใหม่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และโลจิสติกส์ เชื่อมโยงกับ กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีสนามบินนานาชาติขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 6 ล้านคนต่อปี และรองรับการขนส่งสินค้า จำนวน 20,000 ต่อปีส่วนการคมนาคมทางบก มีความพร้อมที่จะเชื่อมต่อการคมนาคมทางบก เส้นทาง R3A กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการค้าการท่องเที่ยวเป็นอย่างดี
                             3. เมืองแห่งเกษตรปลอดภัย Northern Food Valley จังหวัดเชียงใหม่กำหนด ตำ แหน่งการพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย และเลือกใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมอาหารของ ภาคเหนือสามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก รวมถึงการสร้างขีดความสามารถการผลิตสินค้า ปลอดภัยและอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านอาหารของจังหวัดเชียงใหม่สู่การเป็น ครัวโลกได้ อย่างยั่งยืนต่อไป
                             4. เมืองศูนย์กลางการศึกษานานาชาติสู่สากล Education Hub จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาค มีสถาบันการศึกษาจำนวนมากต่อการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณภาพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อสามารถดำรงชีวิตในสังคมอาเซียนได้อย่างมี คุณภาพ
                             5. เมืองน่าอยู่ Eco-Town Eco-Village จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขณะเดียวกันเป็นเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว การค้าการลงทุน และการย้ายถิ่นฐาน เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การค้าการลงทุนในระยะยาว จังหวัดเชียงใหม่จึงให้ความสำคัญกับการจัดพื้นที่เมืองที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา : สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ http://www.chiangmai.go.th